1.วัสดุที่นำมาทำแบงค์

2.แอคชั่นของคัน(รูปแบบการโค้งของคัน-ไม่ใช้ความแข็งแบบที่หลายๆท่านเข้าใจ)

3.เซ้นต์ซิทิวิตี้ คือการส่งแรงสะเทือนมาที่ตัวคัน

ข้อแรกคงคุ้นเคยดีนะครับว่า ชนิดไหนถูกแพงกว่ากันและยังมีระดับราคาแยกย่อยอีกต่างหาก
ข้อสองนี้บ่งบอกราคาได้มากที่สุด คันเบ็ดความโค้งของคันจะแบ่งได้4ระดับ คือ SLOW_MODERATE_FAST และExtarFAST คันระดับFASTจะมีจุดเริ่มโค้งที่1/3ของคัน หมายความว่าจะเริ่่มโโค้งจากปลายมาหาโค้นคันแค่1ใน3เท่านั้น ส่วนEx จะโค้งได้แค่1/4 ทั้งสองแบบออกแบบได้ยากมากกว่า2แบบแรก เพราะถ้าเป็นแบบSlow จะโค้งทั้งคันแบบชิงหลิวหรือคันฟลายสามารถคำนวนได้ง่ายกว่า
ข้อที่สามคนใช้เหยื่อปลอมจะต้องสนใจมากที่สุด ข้อนี้จากประสพการทำคันเบ็ดมานานปีจะต้องรวมกันทั้งแบงค์ที่ดี อุปกรณ์ที่ประกอบคันแล้ววิธีทำ ถ้าช่างทำไม่เข้าใจในส่วนนี้จะส่งผลกับคันเป็นอย่างมาก
องค์ประกอบทั้งหมดนี้คงพอจะบอกเราได้ว่าคันแพงๆมันควรจะแพงจริงหรือไม่ แบงค์ที่ดีไม่จำเป็นต้องหนานะครับถ้าออกแบบมาดีพอ ได้Actionที่ต้องการ ได้Powerที่เหมาะสมกับสายที่ใช้ และSensitivetyที่ดี อุปกรณ์ประกอบอื่นๆที่ถูกใจ

ขั้นตอนการทำคันบ็ดแรกที่เดียว เขาจะนำแผ่นกราไฟท์(ที่โรงงานจะมีห้องเก็บที่อุณหภูมิ4-6ํC) เป็นม้วนๆเหมือนม้วนผ้ามีมากกว่า20ชนิดตามแต่ลูกค้าต้องการ เขาจะนำม้วนกราไฟท์มาตัดเป็นรูปตามที่ได้ออกแบบไว้ ส่วนมากจะเป็นแบบหลายๆแผ่นซ้อนกันแล้วม้วนเข้ากับแกนสแตนเลสที่เรียกว่าหางหนู ในขั้นตอนนี้ถ้าออกแบบมาดีคันจะมีน้ำหนักเบา และรับแรงได้ตามที่คำนวนไว้
คันเบ็ดที่บ้านเราเอามายกลูกเหล็กกันนั้น ที่โรงงานก็มีการทำเช่นกันเป็นการทดสอบว่าคันเบ็ดรับน้ำหนักได้จริงหรือไม่ ปรกติคันที่ออกจากโรงงานมีชื่อเสียงจะลงค่าการรับน้ำหนักมาแค่75% กล่าวคือถ้าคันรับได้7.5 กิโลกรัม จะรับน้ำหนักจริงได้ถึง10กิโลกรัม ที่ทำเช่นนั้นก็เพราะต้องการไม่ให้เกิดการเสียหายกับคันเบ็ด และถ้านำไปจำหน่ายในประเทศที่เจริญแล้วจะไม่ถูกเขาฟ้องร้องหรือห้ามนำเข้ามาขาย เพราะคันไม่มีคุณสมบัติตามที่พิมพ์ไว้บนตัวคัน
ในบ้านเรานิยมลดต้นทุนโดยการสั่งให้โรงงานผลิตสอดใส้ไฟเบอร์กลาสไว้ด้านใน โดยนำกราไฟท์มาหุ้มผิวด้านนอกส่วนลายที่เราเห็นด้านนอกโรงงานสามารถทำได้ทุกลาย จึงไม่อยากที่จะให้ไปสนใจมันมากนัก คันเบ็ดพวกนี้ที่จริงนิยมไปใช้กับงานทะเลเป็นส่วนมากเพราะเหมาะสมกับการลากเหยื่อบนเรือเป็นที่สุด เมื่อนำมาใช้งานตามบ่อตกปลาแม่น้ำหรืออ่างเก็บน้ำ อะไรจะเกิดขึ้น what

เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าคันและรอกทำงานร่วมกันอย่างไร แรกที่ปลากินเบ็ดแล้วลากสายออกไปนั้นสายเอ็นจะยืดตัวตามแรงดึงของปลาเมื่อยืดจนสุดแล้วคันเบ็ดจะทำหน้าที่ เบรค สายไว้ด้วยแอคชั่น-ACTION(การโค้งตัวของคันเบ็ด)บวกด้วยพาว์เวอร์-POWER(ความแข็งของคันเบ็ด) และถ้ายังหยุดปลาไม่ได้ก็จะมาถึงหน้าที่ของเบรคที่ตัวรอก
คันที่เรากล่าวถึงในตอนนี้ตัวคันจะโค้งงอไปตามแรงดึง ความแข็งของคันค่อนข้างน้อย แต่!!!!!!!ที่เราท่านชื่นชอบกันนักก็คือมันงอครับแต่มันไม่ยอมหัก ถ้าท่านสังเกตุตามหน้าหนังสือที่ทดสอบคันโชว์ จะเห็นได้ว่าจุดที่สูงที่สุดของคันเมื่อเรางัดคันขึ้น จะมีจากความยาวของด้ามคันไปถึงจุดนั้นจะยาวเพียง1/3-1/4ของความยาวคันทั้งหมด ซึ่งปลายคันที่เหลือจะไม่มีส่วนในการสู้ปลาเลย ที่กล่าวมาปัจจุบันเราเรียกกันว่าคัน จิ๊กกิ้ง นี่แหละครับ คันจะโค้งเป็นรูปตัว C เลยหรือดูแล้วเหมือนตัว U กลับหัว คันประเภทนี้จะมีแอคชั่นเป็นแบบ SLOW คือมันจะไม่ช่วยเบรคสายผ่อนแรงได้เลย ดีหน่อยก็ทำให้คันมันแข็งขึ้นงอลงไปได้ยากขึ้น ดังนั้นภาระทั้งหมดจะมาลงอยู่ที่สายและเบรคของรอกทั้งหมด


ขอเสริมข้อมูลเรื่องของวัตถุดิบในการผลิตคันเบ็ดนิดนึงคับ อย่างเช่น

- IM6 ภาษาของโรงงานจะเรียก 30T โมดูลัคแบบคราวๆคือ 38ล้านโมดูลัค

- IM7 จะเรียก 40T ประมาณ 42ล้านโมดูลัค

- IM8 จะเรียก 48T ประมาณ 47ล้านโมดูลัค

โมดูลัคคือ จำนวนเส้นใยที่ถักทอขึ้นมาเป็นแผ่นกราไฟท์ ที่ไว้ใช้ม้วนทำคันเบ็ด

ส่วนพวกคันลายผ้า คือการนำกราไฟท์ที่ม้วนขึ้นรูปเสร็จแล้วนำมาห่อด้วยตาข่ายกราไฟท์(WOVEN) ที่นิยมทำกันมี 2ลาย คือ 1K และ 3K ราคา 1K จะแพงกว่าคับ(จะเห็นในคันระดับไฮเอน) เมื่อพันด้วยตาข่ายเสร็จ ทางโรงงานจะมาทำการWrapด้วยEpoxyอีกครั้ง เสร็จเป็นแบงค์ขึ้นมา ก่อเข้าสู่กระบวนการประกอบPartต่างๆ เป็นคันเบ็ดให้เราได้ใช้งานกันคับ
ในเรื่องของการเลือกคันในความคิดของผม จะตรวจดูในหลายๆเรื่องดังนี้คับ

- กระดูกคันเบ็ด ถ้าได้กระดูคันที่ตรงก็จะได้เพาเวอร์ของคันที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย

- ไกด์วางตรงรึเปล่า

- งานพันและเคลือบด้ายที่โคนไกด์ เรียบร้อยดีหรือไม่

- ส่วนของด้าม จะเอามือจับรีลซีทแล้วหมุนหรือขยับแรงๆว่ายึดติดมั่นคงดีรึเปล่า

- ด้ามมีรูหรือตำหนิไหม

- สังเกตุที่ปลายคันเบ็ดมีคดรึเปล่า

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.